- ลูกค้าอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาเพื่อเข้าสู่ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใน
- ลูกค้ามีความกังวลในสภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ตกต่ำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 และผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19
- ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพและแนวโน้มในอนาคต
- ศึกษาข้อมูลความเสี่ยงเพื่อประกอบการตัดสินใจ
- สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมาตรการปิดพื้นที่ต่างๆ ในหลายประเทศ ฯลฯ ส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์อยู่ในภาวะหดตัวไปจนถึงปี พ.ศ. 2564 การตัดสินใจเข้ามาลงทุนจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ (ชะลอไปก่อน)
ออกแบบการทำวิจัย
การเตรียมการสำรวจ
ดำเนินการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล
การนำเสนอรายงาน
การสำรวจอย่างถูกต้องแม่นยำด้วยความสามารถในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหาได้จากแหล่งข้อมูลเปิด
มีการวิเคราะห์ข้อมูลภายใต้สมมุติฐานที่ชัดเจน โดยการค้นคว้าข้อมูลอ้างอิงและดำเนินการสัมภาษณ์เป็นภาษาไทยด้วยนักวิจัยชาวไทย
เครือข่ายที่กว้างขวางของเราในประเทศไทย
มีการเดินทางเข้าไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ผ่านการประสานงานจากสถาบันวิจัยของรัฐบาล
- พนักงานของบริษัทแห่งนึงได้ร้องเรียนเกี่ยวกับระบบบริหารงานบุคคลในปัจจุบัน (ขั้นตำแหน่ง, ค่าตอบแทน, การประเมินผลงาน)
- ระบบบริหารงานบุคคลขาดความชัดเจน แม้กระทั่งระดับผู้บริหารเองก็ยังขาดความเข้าใจในภาพรวมของระบบในปัจจุบัน
- สร้างระบบบริหารงานบุคคลรูปแบบใหม่ (ขั้นตำแหน่ง, ค่าตอบแทน, การประเมินผลงาน)
- เราได้ออกแบบและแนะนำระบบบริหารงานบุคคลรูปแบบใหม่ที่มีความชัดเจนเข้าใจง่ายและสามารถสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานได้ เนื่องจากระบบใหม่นั้น เกิดจากการประสานงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างบุคลากรที่ปรึกษาของเรากับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของบริษัทลูกค้า
ทำความเข้าใจระบบบริหารงานบุคคลในปัจจุบันและสำรวจประเด็นปัญหาต่างๆ
ดำเนินการออกแบบระบบการบริหารงานบุคคลรูปแบบใหม่
กำหนดลำดับความสำคัญของหัวข้อปัญหา และพิจารณาระดับขั้น, ผลตอบแทน และเกณฑ์การประเมินผลงานที่มีความเหมาะสม
การดำเนินการช่วงเริ่มแรก/ปรับปรุงระบบให้สมบูรณ์
ดำเนินการอบรมผู้ประเมิน
การสร้างขวัญและกำลังใจของพนักงาน
การสร้างระบบการบริหารงานบุคคลรูปแบบใหม่ภายใต้การผลักดันโดยบุคลากรของลูกค้าเองนั้น สามารถสร้างจิตสำนึกรักองค์กรและความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆ
การได้ทราบถึงประเด็นปัญหาที่สำคัญของบริษัทในวงกว้าง
จากการเข้าไปสัมภาษณ์พนักงานของบริษัทโดยตรง ทำให้สามารถทราบได้ถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ของบริษัทในวงกว้างไม่ใช่แค่เพียงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารงานบุคคลเท่านั้น อาทิ ปัญหาการทุจริต
- สถานการณ์ด้านกิจการและด้านการเงินในเครือบริษัท (สำนักงานใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่น, บริษัทย่อยที่ประเทศไทย) ตกอยู่ในภาวะวิกฤติ
- โครงสร้างของโมเดลธุรกิจมีปัญหา และมีประเด็นเกี่ยวกับการตัดสินใจด้านการบริหารจัดการธุรกิจของบริษัทย่อยที่ประเทศไทย
- การฟื้นฟูกิจการของเครือบริษัทและปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจ
- สืบเนื่องจากระบบการตัดสินใจด้านการบริหารจัดการธุรกิจของบริษัทย่อยที่ประเทศไทยขาดประสิทธิภาพ, ปัญหารูปแบบองค์กรของบริษัทย่อยในประเทศไทย (ฟังก์ชั่นงานมีความซ้ำซ้อนกัน) และปัญหากระแสเงินสดขาดสภาพคล่อง บริษัทจึงได้โอนขายหุ้นของบริษัทย่อยในประเทศไทยให้แก่บริษัทพาร์ทเนอร์ที่ร่วมลงทุนในกิจการดังกล่าว
ศึกษาสภาพปัจจุบันและค้นหาสาเหตุที่ทำให้กิจการไม่ก้าวหน้า
กำหนดมาตรการแก้ไขปรับปรุง
กำหนดรูปแบบการดำเนินมาตรการแก้ไขปรับปรุง
ให้ความช่วยเหลือในการเจรจายกเลิกกิจการร่วมค้าของบริษัทย่อยที่ประเทศไทย
สาเหตุหลัก 1 “ระบบการตัดสินใจด้านการบริหารจัดการธุรกิจขาดประสิทธิภาพ”
บริษัทแม่ทั้งสองของบริษัทย่อยที่เป็นกิจการร่วมค้าในประเทศไทยต่างฉุดรั้งอำนาจการตัดสินใจระหว่างกันทำให้การตัดสินใจด้านการบริหารจัดการธุรกิจเกิดความล่าช้า
สาเหตุหลัก 2 “ขีดจำกัดของอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานมาก”
ค่าจ้างแรงงานในประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้นและกระแสการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าแรงถูกกว่า ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานมากที่ประเทศไทยลดลง
↓
บริษัทประสบปัญหาด้านธุรกิจและด้านการเงินอย่างมาก เนื่องจากไม่สามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกได้จึงไม่สามารถก้าวออกจากอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มน้อยได้ (Low value added sector)
- เกิดการทุจริตขึ้นตั้งแต่สมัยกรรมการผู้จัดการคนก่อน (กรรมการผู้จัดการเองก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตดังกล่าว)
- กรรมการผู้จัดการคนปัจจุบันเติบโตมาจากส่วนงานขาย และไม่ถนัดด้านการบริหารจัดการ
- สร้างระบบป้องกันการทุจริต (Governance)
- ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีความเข้มแข็ง
- สร้างระบบป้องกันการทุจริตโดยการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานและโยกย้ายบุคลากร (Job rotation)
- กำหนดตัวชี้วัดผลงานด้านการบริหารจัดการที่มองเห็นได้ (KPIs) โดยการรวบรวมข้อมูลด้านการบริหารจัดการ
ศึกษากระบวนการทำงานและค้นหาประเด็นปัญหา
การกำหนดแนวทางการปรับปรุง/การจัดทำแผนดำเนินการ
ให้ความช่วยเหลือในการดำเนินมาตรการปรับปรุงแก้ไข
การจัดทำข้อมูลด้านการบริหารจัดการประจำเดือน
การสำรวจสภาพปัจจุบันโดยบุคลากรที่ปรึกษาชาวไทย
ทราบถึงสภาพที่แท้จริงในองค์กรที่ระดับผู้บริหารชาวญี่ปุ่นไม่สามารถมองเห็นได้ โดยการตรวจสอบใบงานต่างๆ และรับฟังเสียงที่แท้จริงจากพนักงานผ่านการสัมภาษณ์พนักงานโดยบุคลากรที่ปรึกษาชาวไทย
การให้ความช่วยเหลือในการดำเนินการที่หน้างานจริง
ให้ความช่วยเหลือในการดำเนินมาตรการ โดยมีการจัดประชุมร่วมกับผู้รับผิดชอบในการดำเนินมาตรการแก้ไขปรับปรุง (ชาวไทย) อยู่เป็นระยะๆ
การทำให้ตัวชี้วัดผลงานด้านการบริหารจัดการที่มองเห็นได้
การรวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่อการบริหารจัดการ ทำให้สามารถมองเห็นจุดที่ควรปรับปรุงเพื่อให้บริษัทมีผลประกอบการที่ดีขึ้น
- ลูกค้าได้ทบทวนฐานการผลิตในภูมิภาคเอเซียและตัดสินใจที่จะถอนตัวออกจากประเทศไทย ถึงแม้บริษัทย่อยที่ประเทศไทยจะมีผลประกอบการที่ดีก็ตาม
- พิจารณาแนวทางดำเนินการที่ส่งผลกระทบด้านค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงต่างๆ น้อยที่สุด
- พิจารณาวิธีการปิดกิจการที่ส่งผลกระทบต่อพนักงานและบริษัทคู่ค้าน้อยที่สุด
- การชำระบัญชีเสร็จสมบูรณ์ หลังจากที่บรรลุข้อตกลงกับสหภาพแรงงานและการขายสินทรัพย์ถาวรต่างๆ
การวิเคราะห์เบื้องต้น
①การโอนขายหุ้น
②การชำระบัญชี
②การชำระบัญชี
1. ให้ความช่วยเหลือในการดำเนินการต่อพนักงานชาวไทย
2. การยกเลิกใบอนุญาตต่างๆ
3. การแก้ไขสภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
4. การตรวจสอบของกรมสรรพากร